วันอังคารที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

แบบทดสอบ ระบบปฏิบัติการ


แบบทดสอบ

ระบบปฏิบัติการ
 
     1.ข้อใดไม่ใช่หน้าที่ของโปรแกรมระบบปฏิบัติการ
       ก.) จำข้อมูลช่วงที่มีการป้อนไฟ
       ข.) จัดการด้านความปลอดภัย 
       ค.) เป็นตัวกลางระหว่างเครื่องกับผู้ใช้
       ง.) ควบคุมฮาร์ดแวร์
     2. ข้อดีของระบบปฏิบัติการ DOS คือข้อใด   
       ก.) ติดต่อผู้ใช้โดยการพิมพ
       ข.) ใช้ทรัพยากรน้อย
       ค.) มีซอฟต์แวร์ที่ทำงานภายใต้ DOS มาก
       ง.) ทำงานในโหมดตัวอักษร
     3. ข้อเสียของระบบปฏิบัติการวินโดวส์95 คือข้อใด
       ก.) ติดต่อกับผู้ใช้ด้วยระบบ GUI
       ข.) ต้องสั่งงานโดยใช้เมาส์
       ค.) ใช้ทรัพยากรมากกว่า DOS
       ง.) ทำงานระบบ Plug and Play
     4. วินโดวส์95 ต่างจากวินโดวส์98 อย่างไร
       ก.) ติดต่อกับผู้ใช้ด้วยระบบ GUI
       ข.) ต้องสั่งงานโดยใช้เมาส์
       ค.) ใช้ทรัพยากรมากกว่า DOS
       ง.) ซอฟต์แวร์สนับสนุน
     5. ระบบปฏิบัติการใดน่าจะมีความเหมาะสมในยุคปัจจุบัน (พ.ศ. 2547) มากที่สุด
       ก.) DOS
       ข.) Windows98
       ค.) WindowsXP
       ง.) Windows95
     6.ระบบปฏิบัติการที่เหมาะกับคอมพิวเตอร์เมนเฟรมและการติดต่อสื่อสารระยะไกลคือข้อใด
       ก.) WindowsXP
       ข.) Unix
       ค.) WindowsCE
       ง.) Mac
     7. ระบบปฏิบัติการประเภท Open Source คือข้อใด
       ก.) WindowsXP
       ข.) Unix
       ค.) Linux
       ง.) Mac
     8. ระบบปฏิบัติการใดเหมาะกับเครื่องคอมพิวเตอร์แบบ SUN
       ก.) Solaris
       ข.) Firmware
       ค.) Windows CE
       ง.) Mac
     9. ระบบปฏิบัติการที่สร้างขึ้นมาเพื่อใช้กับคอมพิวเตอร์แบบพกพาคือข้อใด
       ก.) Solaris
       ข.) Firmware
       ค.) Windows CE
       ง.) Mac
     10. ระบบปฏิบัติการที่ถูกบรรจุในหน่วยความจะรอมคือข้อใด
       ก.) Solaris
       ข.) Firmware
       ค.) Windows CE
       ง.) Mac
 
 
       (เฉลย ระบบปฏิบัติการ 10 ข้อ)   1 2 3 4 5 6 7 8 9 10


แบบทดสอบ ระบบเครืองข่าย


แบบทดสอบ

 
ระบบเครือข่าย
      
     ข้อที่ 1) องค์ประกอบพื้นฐานของการสื่อสารข้อมูลประกอบด้วย
       ก. ผู้รับ – ผู้ส่ง
       ข. โปรโตคอล
       ค. สื่อกลาง
       ง. ถูกทุกข้อ
     ข้อที่ 2) อุปกรณ์ในข้อใดทำหน้าที่แปลงสัญญาณจากสัญญานอนาลอค
             เป็นสัญญาณดิจิตอลหรือสัญญาณดิจิตอลเป็นสัญญาณอนาล๊อค
       ก. User Card
       ข. LAN Card
       ค. Network Interface
       ง. Card Modem

     ข้อที่ 3) สายสัญญาณใดมีความสามารถในการส่งข้อมูลเร็วที่สุด
       ก. Fiber Optic Cable Unshielded
       ข. Twisted Pair Cable Shielded
       ค. Twisted Pair Cable
       ง. Coaxial Cable
     ข้อที่ 4) ระบบเครือข่ายประเภทใดในปัจจุบันเป็นที่นิยมมากที่สุด
       ก. LAN
       ข. WAN
       ค. MAN
       ง. SAN
     ข้อที่ 5) Wireless LAN หมายถึงข้อใด
       ก. เครือข่าย LAN ที่ใช้สาย UTP ในการเชื่อมต่อ
       ข. เครือข่าย LAN ที่ใช้สาย Coxcial ในการเชื่อมต่อ
       ค. เครือข่ายที่ไม่ใช้สายในการเชื่อมต่อแต่ใช้คลื่นวิทยุแทน
       ง. เครือข่าย LAN ที่ใช้สาย Fiber Optic ในการเชื่อมต่อ
     ข้อที่ 6) ข้อใดหมายถึง โปรโตคอล
       ก. รูปแบบการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ในระบบเครือข่าย
       ข. มาตรฐานการเชื่อมต่อเครือข่ายคอมพิวเตอร์
       ค. ภาษากลางที่ใช้สื่อสารเพื่อติดต่อกันในเครือข่าย
       ง. คุณสมบัติหนึ่งของมาตรฐาน IEEE 802
     ข้อที่ 7) สายโคแอ๊กเชียลมีโครงสร้างที่เหมือนกับสายใดในบ้านเรา
       ก. สายโทรศัพท์
       ข. สายอากาศทีวี
       ค. สายไฟ
       ง. สายลวดทองแดง
     ข้อที่ 8) ข้อใดเป็นอุปกรณ์ที่ใช้เชื่อมเครือข่ายสองระบบเข้าด้วยกัน
       ก. HUB
       ข. Connecter
       ค. Router
       ง. Conectrator

     ข้อที่ 9) HUB หมายถึงข้อใด
       ก. เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ต่อหัวเข้ากับสาย
       ข. อุปกรณ์ที่ใช้ปิดสัญญาณหัวท้ายเครือข่ายเพื่อป้องกันสัญญาณรั่ว
       ค. แผงวงจรที่เสียบกับเครื่องเพื่อเชื่อมสายต่อเป็นเครือข่าย
       ง. อุปกรณ์ศูนย์กลางของสายส่งสัญญาณรับทางเดียวออกหลายทาง
           หรือรับหลายทางออกทางเดียว
     ข้อที่ 10) เครือข่ายระดับใดมักใช้สัญญาณดาวเทียมช่วยในการสื่อสาร
       ก. เครือข่าย MAN
       ข. เครือข่าย WAN
       ค. เครือข่าย LAN
       ง. ถูกทุกข้อเฉลย
 
       (เฉลย ระบบเครืองข่าย 10 ข้อ)  1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 ข
 
 
 


วันจันทร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

มาตราการป้องกันระบบเครือข่าย


มาตราการป้องกันระบบเครือข่าย

     คุณจะทำอย่างไรถ้าวันหนึ่งมีเจ้าหน้าที่ตำรวจเดินมาเคาะประตูบริษัทของคุณ และแจ้งข้อหาต่อ่คุณว่า "ให้ความช่วยเหลือในการก่ออาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์" ซึ่งเบื้องหลังสิ่งที่เกิดขึ้นนี้คือ การที่มีใครบางคนแอบติดต่อสื่อสารระยะไกลเข้ามาในเซิร์ฟเวอร์ของคุณและใช้เซิร์ฟเวอร์ของคุณเป็นฐานปฏิบัติการในการเจาะระบบเพื่อก่ออาชญากรรมต่างๆ 
       แต่สิ่งที่เกิดขึ้นแล้วก็คือ คุณปล่อยให้อาชญากรทางคอมพิวเตอร์ทำงานได้โดยสะดวก เพราะคุณไม่ได้ล็อกประตูระบบเครือข่ายของตัวเอง

     

      อันตรายที่พอกพูน

    ปัญหานี้ไม่ใช่เรื่องผิดปกติแต่อย่างใด แพราะอาชญากรในโลกไซเบอร์จะเริ่มต้นจากการเจาะระบบของระบบขนาดกลางและย่อมที่มีระบบรักษาความปลอดภัยประสิทธิภาพต่ำ และใช้เป็นฐานในการก่ออาชญากรรมขั้นร้ายแรงต่อไป เช่น การโจมกรรมข้อมูลด้านอุตสาหกรรมและพาณิชย์ การฉ้อโกงทางการเงิน เป็นต้น บริษัทของคุณอาจตกเป็นเหยื่อของอาชญากรไซเบอร์เหล่านี้ได้ หากขาดความเอาใจใส่เรื่องการรักษาความปลอดภัย ของระบบโครงสร้างพื้นฐานไอทีขององค์กร และให้ความรู้แก่พนักงานไม่เพียงพอ รวมถึงขาดการบังคับใช้นโยบายรักษาความปลอดภัยที่ดี  

     การจัดการความเสี่ยงจากภายนอก

    ตัวอย่างความเสี่ยงจากภายนอกเช่น ไวรัส เวิร์ม สแปม สปายแวร์ และแอพลิเคชั่นที่เข้ามาโจมตีระบบเพื่อทำให้ระบบปฎิเสธการให้บริการ การโจมตีเซิร์ฟเวอร์ หรือการบุกรุกอื่นๆ
    วิธีการที่จะรับมือภัยคุกคามจากภายนอกนี้จำเป็นต้องมีระบบป้องกันพื้นฐานอย่าง ไฟร์วอลล์ ระบบป้องกันไวรัส และระบบบริหารการติดตั้งโปรแกรมซ่อมแซม เป็นต้น
  
  • ระบบป้องกันไวรัส - ควรติดตั้งระบบป้องกันไวรัสทั้งในเครื่องพีซี โน้ตบุ๊ก และเซิร์ฟเวอร์ มิเช่นนั้นโน้ตบุ๊กที่ติดไวรัสมาจากข้างนอกอาจนำไวรัสมาแพร่ระบาดในเซิร์ฟเวอร์และเครือข่ายได้ นอกจากนี้ต้องทำการอัพเดทระบบป้องกันไวรัสอยู่เป็นประจำ และต้องสแกนไวรัสในเครื่องคอมพิวเตอร์ของสำนักงานเป็นประจำด้วย ที่สำคัญควรต้องปรับแต่ระบบป้องกันไวรัสให้คอยตรวจสอบเมล์ที่ดาวน์โหลดมาว่า มีซอฟต์แวร์ไม่พึงประสงค์ติดมากับไฟล์แนบหรือไม่่
  • ระบบบริหารการติดตั้งโปรแกรมซ่อมแซม – ระบบปฏิบัติการ หรือซอฟต์แวร์ที่ออกมานานแล้วมักจะพบว่ามีบั๊ก (Bug) ซึ่งอาจกลายเป็นช่องโหว่ให้แฮกเกอร์เจาะเข้ามาโจมตีระบบได้ จึงจำเป็นต้องติดตั้งโปรแกรมซ่อมแซมและอัพเดทอัตโนมัติ และจะต้องไม่ปล่อยให้ผู้ใช้ปิดการทำงานของโปรแกรมเหล่านี้
  • ไฟร์วอลล์ - ไฟร์วอลล์จะช่วยแยกแยะและจัดการกับผู้บุกรุกได้ และควรติดตั้งไฟร์วอลล์ส่วนตัวในโน้ตบุ๊ก เพื่อป้องกันไม่ให้โน้ตบุ๊กอัพโหลดข้อมูลโดยไม่ตั้งใจจากคอมพิวเตอร์ไปสู่อินเทอร์เน็ต หรือติดซอฟต์แวร์ประสงค์ร้าย
  • การปรับแต่งตัวแปรระบบเครือข่าย - เปลี่ยนช่วงค่าไอพีปกติของเครือข่าย และตรวจดูพอร์ตการใช้งาน ปิดพอร์ตที่ไม่ได้ใช้ รวมถึงลบทรัพยากรที่ใช้ร่วมกันผ่านเครือข่ายที่ไม่จำเป็น
  • การปรับแต่งตัวแปรระบบเครือข่าย - เปลี่ยนช่วงค่าไอพีปกติของเครือข่าย และตรวจดูพอร์ตการใช้งาน ปิดพอร์ตที่ไม่ได้ใช้ รวมถึงลบทรัพยากรที่ใช้ร่วมกันผ่านเครือข่ายที่ไม่จำเป็น
  • ไฟล์ดาวน์โหลด - ตรวจสอบให้แน่ใจว่าพนักงานดาวน์โหลดไฟล์มาจากเว็บไซต์ที่เชื่อถือได้เท่านั้น หรือให้สิทธิ์ผู้ใช้ที่เชื่อใจได้ แต่ต้งตรวจสอบให้มั่นใจว่าผู้ที่ได้รับสิทธิ์นี้ได้ศึกษาวิธีดาวน์โหลไฟล์อย่างปลอดภัยมาแล้ว

    

      การจัดการความเสี่ยงจากภายใน

    มีข้อมูลทางสถิติระบุว่า 80% ของอาชญากรรมไอที เกิดจากคนภายในบริษัทเอง เช่น พนักงานที่ไม่พอใจองค์กร พนักงานที่เพิ่งถูกเลิกจ้าง ผู้รับเหมาติดตั้งระบบ หรือผู้ให้บริการ คนภายในเหล่านี้มีความรู้เกี่ยวกับระบบเครือข่ายของบริษัท จึงมีโอกาสที่จะก่อให้เกิดอันตรายได้มากกว่าบุคคลภายนอกที่ไม่คุ้นเคยกับสภาพแวดล้อมแบบนี้ การโจมตีนี้มีได้ตั้งแต่ การแอบดูไฟล์ ลบข้อมูลที่มีค่า เปลี่ยนแปลงรายการในฐานข้อมูล เป็นต้น ขึ้น อยู่กับเจตนาและทักษะของผู้กระทำ
    การป้องกันไม่ให้เกิดเหตุดังกล่าวทำได้ง่ายๆ โดยใช้เทคนิคดังต่อไปนี้
  
  • รหัสผ่าน - ยืนกรานให้พนักงานใช้รหัสผ่านที่มีความแข็งแกร่งและซับซ้อนเพียงพอ และตรวจสอบให้มั่นใจว่าพนักงานจะเก็บรหัสผ่านนี้ไว้เป็นความลับ รวมถึงนเอานโยบายรหัสผ่านที่ดีมาใช้ เพื่อให้แน่ใจว่า รหัสผ่านจะหมดอายุเมื่อผ่านไประยะหนึ่งและห้ามผู้ใช้ใช้รหัสผ่านเดิมซ้ำอีก นอกจากนั้นยังควรติดตั้งโปรแกรมตรวจสอบการล็อกอิน ไม่ให้ผู้ใช้เข้าใช้งานระบบหลังจากล็อกอินผิดครบจำนวนครั้งที่กำหนด
  • ระดับการให้สิทธิ์ - ใช้ซอฟต์แวร์เพื่อเข้ารหัสข้อมูลที่สำคัญของบริษัท เช่น รายงานต่างๆ โดยใช้คุณสมบัติการเข้ารหัสที่มีอยู่ในแอพลิเคชั่นต่างๆ ให้เป็นประโยชน์ และควรใช้ลายเซ็นดิจิตอลหรือเทคนิกการเข้ารหัสข้อมูลกับอีเมล์สำคัญ เพื่อให้แน่ใจว่าผู้รับที่ระบุชื่อเอาไว้เท่านั้นจึงจะเปิดอ่านได้
  • ใช้ระบบตรวจสอบสิทธิ์ที่ปลอดภัย - เช่น ระบบตรวจสอบสิทธิ์ในรูปของกุญแจอย่างสมาร์ทการ์ด หรือยูเอสบี รวมทั้งอุปกรณ์ไบโอเมทริกซ์ต่างๆ เมื่อใช้ร่วมกับรหัสผ่านที่แข็งแกร่งจะช่วยให้ระบบมีความปลอดภัยเพิ่มขึ้นอย่างมาก
  • ระบบควบคุมการเข้าถึงทรัพยากร - จัดเก็บอุปกรณ์ที่มีความสำคัญอย่าง เซิร์ฟเวอร์ เราเตอร์ อุปกรณ์สำรองข้อมูล และอุปกรณ์อื่นๆ ในที่ที่มีการป้องกัน เช่น ตู้ที่มีกุญแจล็อก หรือห้องที่แยกต่างหาก เพื่อป้องกันไม่ให้พนักงานที่ไม่เกี่ยวข้องหรือบุคคลภายนอกเข้าถึงได้ นอกจากนี้เพื่อป้องกันไม่ให้พนักงานดาวน์โหลดข้อมูลวิจัย รายชื่อลูกค้า ข้อมูลบัตรเครดิตลูกค้า หรือข้อมูลสำคัญอื่นๆ ไปเก็บในอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลอย่างแฟลชไดร์ฟยูเอสบี โทรศัพท์มือถือ หรือเครื่องเล่นเอ็มพี 3 อาจจำเป็นต้องปิดการทำงานของพอร์ตยูเอสบีในเครื่องพีซีด้วย โดยแก้ไขที่ไบออสของเครื่องหรือใช้ยูทิลิตี้อย่าง Drive lock ก็ได้ หรืออาจพิจารณาถึงการล็อกตัวถังเครื่องพีซีด้วยก็เป็นได้
  • ระบบบริหารแอพลิเคชั่น - จัดการลบซอฟต์แวร์ ยูทิลิตี้ และแอพลิเคชั่นที่ไม่ต้องการทิ้งไป และห้ามการใช้ซอฟต์แวร์สื่อสารแบบจุดต่อจุด และระบบรับส่งข่าวสารฉับพลัน เพราะซอฟต์แวร์ดังกล่าวสามารถหลบการทำงานของซอฟต์แวร์รักษาความปลอดภัยที่มีอยู่ แล้วทำการดาวน์โหลดและอัพโหลดข้อมูลได้ รวมทั้งห้ามไม่ให้พนักงานเข้าเว็บไซต์บางแห่ง เนื่องจากพนักงานอาจจะส่งอีเมล์หรือโอนถ่ายข้อมูลสำคัญของบริษัทออกไปได้
  • การกู้ระบบจากภัยพิบัติ - ทำการสำรองข้อมูลอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้สามารถกลับมาทำธุรกิจได้อย่างรวดเร็วในกรณีที่อานมีความเสียหายบเกิดขึ้นกับบริษัท

       ล็อกประตูให้มั่นคง

    องค์ประกอบที่สำคัญที่สุดของระบบรักษาความปลอดภัย คือแผนการรักษาความปลอดภัยที่ให้ความรู้แก่ทุกคนที่อยู่ในบริษัท เกี่ยวกับขั้นตอน เทคโนโลยี และความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับช่องโหว่ต่างๆ ที่มีอยู่ในระบบโครงสร้างพื้นฐานไอทีขององค์กร ไม่ว่าองค์กรจะติดตั้งเทคโนโลยีรักษาความปลอดภัยไว้มากแค่ไหนก็ตาม ก็จะไม่มีความปลอดภัยจนกว่าจะได้รับการสนับสนุนจากพนักงาน องค์กรต้องจัดทำคู่มือนโยบายรักษาความปลอดภัย และแจ้งให้พนักงานทราบถึงความคาดหวังขององค์กร ที่สำคัญคือต้องเอาจริงเอาจังในการปฏิบัติ เพื่อให้มั่นใจว่าระบบเครือข่ายขององค์กรจะมีความปลอดภัยอย่างที่ควรจะเป็น
ล้อมกรอบ
10 ขั้นตอนที่ช่วยให้รักษาความปลอดภัยได้ดีขึ้นกว่าเดิม
  1. ประเมินความเสี่ยงที่มีต่อระบบรักษาความปลอดภัย ค้นหาภัยคุกคามที่มีต่อธุรกิจของคุณ
  2. สร้างนโยบายรักษาความปลอดภัยข้อมูล ให้ความรู้แก่พนักงาน
  3. ปรับปรุงระบบรักษาความปลอดภัยโดยรวม จำกัดการเข้าถึงเซิร์ฟเวอร์ การติดตั้งระบบ การตรวจสอบสิทธิ์ของทรัพยากรไอทีต่างๆ และจำกัดการเข้าถึงข้อมูลลับรวมถึงข้อมูลสำคัญขององค์กร
  4. เสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับระบบเครือข่าย ติดตั้งระบบคัดกรองแพ็กเกตนเราเตอร์ และใช้ไฟร์วอลล์รักษาความปลอดภัยเครือข่ายไร้สาย
  5. ใช้ซอฟต์แวร์ป้องกันไวรัสที่เกตเวย์และพีซีทุกเครื่อง
  6. ใช้ระบบปฏิบัติการที่มีคุณสมบัติเกี่ยวกับระบบรักษาความปลอดภัย เปลี่ยนและอพเกรดระบบปฏิบัติการรุ่นเก่า ใช้ระบบเครือข่ายที่แข็งแกร่ง และเปลี่ยนรหัสผ่านเป็นประจำ
  7. ปรับปรุงระบบให้มั่นคง ลบแอพลิเคชั่นที่ไม่จำเป็นและบัญชีชื่อผู้ใช้ที่ไม่ได้ใช้งาน ติดตั้งโปรแกรมซ่อมแซมให้ระบบปฏิบัติการและแอพลิเคชั่น อย่าใช้ซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์
  8. ใช้ไฟร์วอลล์ส่วนตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโน้ตบุ๊ก ใช้ VPN เพื่อรองรับการติดต่อสื่อสารจากระยะไกลอย่างปลอดภัย
  9. ติดตั้งระบบระบบตรวจสอบสิทธิ์ที่แข็งแกร่ง และใช้ระบบเข้ารหัสสำหรับการโอนถ่ายข้อมูลไฟล์และอีเมล์
  10. พัฒนาและใช้แผนการกู้ระบบจากภัยพิบัติ ทำการสำรองไฟล์ โปลเดอร์ และซอฟต์แวร์ที่มีความสำคัญ จัดเก็บข้อมูลสำรองไว้ในที่ๆ ปลอดภัย



            

ระบบปฏิบัติการ


ระบบปฏิบัติการ

               1.1 windows  
    Windows คือ ระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ระบบหนึ่ง (operating system) สร้างขึ้นโดยบริษัทไมโครซอฟต์ เนื่องจากความยากในการใช้งานดอสทำให้บริษัทไมโครซอฟต์ได้มีการพัฒนาซอฟต์แวร์ที่เรียกว่า Windows ที่มีลักษณะเป็น GUI (Graphic-User Interface) ที่นำรูปแบบของสัญลักษณ์ภาพกราฟิกเข้ามาแทนการป้อนคำสั่งทีละบรรทัด ซึ่งใกล้เคียงกับแมคอินทอชโอเอส เพื่อให้การใช้งานดอสทำได้ง่ายขึ้น แต่วินโดวส์จะยังไม่ใช่ระบบปฏิบัติการจริง ๆ เนื่องจากมันจะทำงานอยู่ภายใต้การควบคุมของดอสอีกที กล่าวคือจะต้องมีการติดตั้งดอสก่อนที่จะติดตั้งระบบปฏิบัติการ Windows และผู้ใช้จะสามารถเรียกใช้คำสั่งต่าง ๆ ที่มีอยู่ในดอสได้โดยผ่านทางWindows   ซึ่ง Windows จะง่ายต่อการใช้งานมากกว่าดอส 
     ระบบปฏิบัติการ windows ใช้หลักการแบ่งงานเป็นส่วน เรียกว่า หน้าต่างงาน (windows) ที่แสดงผลลัพธ์แต่ละโปรแกรม ปัจจุบันมีการผลิตและจำหน่ายหลายรุ่น เช่น Windows XP , Windows Vista, Windows 7 เป็นต้น
    
     Windows คืออะไร วินโดวส์ คือระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ระบบหนึ่ง
Windows XP



Windows คืออะไร วินโดวส์ คือระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ระบบหนึ่ง
Windows Vista

Windows คืออะไร วินโดวส์ คือระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ระบบหนึ่ง
Windows 7





               1.2 Linux  
      Linux เป็นระบบปฏิบัติการแบบ UNIX - compatible ตัวหนึ่งที่ทำงานบนเครื่อง คอมพิวเตอร์ ตั้งแต่ระดับพีซี (PC) 
พัฒนาขึ้นเป็นครั้งแรก ในปี ค.ศ. 1991 โดยนักศึกษาชื่อ Linus B. Torvalds ณ University of Helsinki ประเทศฟินแลนด์ 
ในลักษณะของงานอดิเรก โดยมีแรงบันดาลใจมาจากระบบ Minix ซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการคล้ายๆ UNIX เล็กๆ ตัวหนึ่งที่พัฒนาโดย Andy Tanenbaum เพื่อประกอบการเรียนรู้ ในหนังสือเกี่ยวกับ การออกแบบระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์
     Linux Version 0.01 ถูกแจกจ่ายให้ทดลองใช้ประมาณปลายเดือน ส.ค. 1991 โดยมีเฉพาะ Harddisk Driver และระบบไฟล์ขนาดเล็ก ให้ใช้เท่านั้น ไม่มีแม้แต่ Floppy Disk Driver และต้องมีระบบ Minix อยู่แล้ว จึงจะสามารถทำการคอมไพล
และทดลองใช้งานได้ เนื่องจากยังไม่มีโหลดเดอร์ และคอมไพเลอร์ ต้องอาศัยการคอมไพล์ข้ามระบบ และบูตระบบผ่าน Minix
     Linus เปิดตัว Linux อย่างเป็นทางการในวันที่ 5 ตุลาคม 1991 ด้วย Version 0.02 ซึ่งยังคงเป็นระบบปฏิบัติการ สำหรับผู้พัฒนาโปรแกรมระบบอยู่ จนกระทั่ง ได้เปิดตัว Version 1.0 ในเดือนมีนาคม 1994 และเริ่มมีผู้ใช้กันอย่างแพร่หลาย เนื่องจากเป็นระบบปฏิบัติการคล้าย UNIX ที่สมบูรณ์แบบ มีความสามารถสนันสนุนกราฟิก X Window สนับสนุนระบบเครือข่าย TCP/IP สามารถรับส่งอีเมล์ ทำหน้าที่เป็น News, WWW, FTP Server ได้ และความสามารถอื่นๆ อีกมาก
     สำหรับจุดเด่นที่น่าสนใจของ Linux ได้แก่

*เป็นระบบปฏิบัติการที่ใช้งานได้ฟรี
  
 *ทำงานได้บนเครื่องพีซีทั่วไป ที่มีหน่วยประมวลผลกลางตั้งแต่ 80386 ขึ้นไป
รวมถึง Motora 680x0, Compaq (Digital) Alpha, PowerPC, SPARC เป็นต้น จึงเป็นระบบปฏิบัติการที่มีความต้องการทรัพยากรของระบบในขั้นต่ำ 
  
 *สามารถทำงานได้รวดเร็ว เนื่องจากมีระบบการจัดการหน่วยความจำเสมือน
(Virtual Memory) การจัดทำงานแบบ Multitasking และระบบป้องกันการรบกวน การทำงานระหว่าง Process ต่างๆ
 
  *มีกลุ่มผู้ใช้งานบนอินเทอร์เน็ตค่อนข้างสูง ทำให้ข้อบกพร่องต่างๆ ถูกค้นพบ และหาวิธีแก้ไขได้อย่างรวดเร็ว ทำให้เป็น
ระบบปฏิบัติการที่มีคุณภาพสูงระบบหนึ่ง 
   
    *มีความสามารถแบบ UNIX

* สามารถใช้งานร่วมกับดอส (DOS) และ Microsoft Windows โดยการแบ่งพาติชั่น

  *ความสามารถในการใช้งานไฟล์ร่วมกับระบบปฏิบัติการอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น DOS, Microsoft Windows, NetWare, OS/2, Minix, NFS, System V

   *เป็นระบบปฏิบัติการแบบเปิด เนื่องจากทุกฟังก์ชันมี Source Code แนบมาพร้อม

   * Linux ออกเสียงได้หลายลักษณะ เช่น ลีนุกซ์, ไลนักซ์, ลีนิกซ์



               1.3 unix 

      UNIX เป็นระบบปฏิบัติการ ที่เริ่มต้นใน Bell Labs เมื่อปี 1969 ในฐานะระบบ Interactive time -sharing ซึ่ง Ken Thompson และ Demiss Ritchie ได้รับการพิจารณาว่าเป็นผู้คิดค้น UNIX ในปี 1974 Unix เป็นระบบปฏิบัติการแรกที่เขียนด้วยภาษา C และเป็น freeware ซึ่งมีส่วนขยายและความคิดใหม่ในเวอร์ชันที่หลากหลาย จากบริษัทต่าง ๆ มหาวิทยาลัยและเอกชนทำให้ Unix กลายเป็นระบบเปิด หรือระบบปฏิบัติการมาตรฐานแรกที่ให้บุคคลทั่วไปสามารถปรับปรุงได้ ส่วนประกอบของภาษา C และ shell interface ของ UNIX อยู่ภายใต้มาตรฐาน Portable Operating System Interface ซึ่งอุปถัมภ์โดย Instituted of Electrical and Electronics Engineering ในส่วนอินเตอร์เฟซของ POSIX ได้มีการระบุ X/Open Programming Guide 4.2 (รู้จักกันในชื่อ "Single UNIX Specification" และ UNIX 95") เวอร์ชัน 2 ของ Single UNIX Specification เรียกว่า UNIX 98 
    ระบบปฏิบัติการ UNIX มีการใช้อย่างกว้างขวางในผลิตภัณฑ์ เวิร์กสเตชั่น ของ Sun Microsystems, Silicon Graphics, IBM และบริษัทอื่น ๆ สภาพแวดล้อมของ UNIX และแบบจำลองโปรแกรม Client/Server เป็นส่วนประกอบสำคัญในการพัฒนาอินเตอร์เน็ต และเปลี่ยนการประมวลผลแบบศูนย์กลางในเครือข่ายมากกว่าคอมพิวเตอร์อิสระ Linux เป็นอนุพันธ์ของ UNIX ที่มีทั้งเวอร์ชันฟรีและพาณิชย์ กำลังได้รับความนิยมมากขึ้นในฐานะตัวเลือกของระบบปฏิบัติการ
    Unix เป็นชื่อของระบบปฏิบัติการ (Operating System) อีกแบบหนึ่งซึ่งต่างออกไปจากระบบปฏิบัติการที่เราคุ้นเคยกันดี เช่น Windowsหรือ Dos ระบบปฏิบัติการ Unix ถูกพัฒนาขึ้นตั้งแต่ในช่วงปี 1970 โดยมีรากฐานมาจากภาษา C โดยบริษัท AT&T เป็นผู้เริ่มต้นในการพัฒนาระบบปฏิบัติการนี้จุดเด่นของ Unix ที่แตกต่างจาก Windows นั้นมีหลายประการ หากมองจากการใช้งานก็จะพบว่าแตกต่างกันอย่างชัดเจน เนื่องจาก Unix เป็นระบบปฏิบัติงานที่ใช้การพิมพ์คำสั่ง (Command Line) ส่วน Windows เป็นลักษณะ GUI (Graphic User Interface) ซึ่งช่วยอำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้ให้ใช้งานง่าย เนื่องจากใช้รูปภาพเป็นสื่อ ทำให้ Unix เป็นระบบปฏิบัติการที่ใช้งานยากกว่า Windows เนื่องจากต้องจดจำคำสั่ง(ซึ่งมีมากพอสมควร)ให้ได้ นอกจากนี้ Unix ยังเป็นระบบปฏิบัติการที่มีความแตกต่างกันในเรื่องอักษรตัวเล็กและตัวใหญ่ ทำให้มักเกิดความสับสนสำหรับผู้ใช้ที่ไม่ค่อยคุ้นเคย แต่ Unix ก็มีจุดเด่นที่เหนือกว่า Windows ในแง่ของประสิทธิภาพในการทำงาน โดยในระดับ Hardware ชุดเดียวกันระบบ Unix จะมีประสิทธิภาพที่สูงกว่า นอกจากนี้ยังมีเสถียรภาพในการทำงานที่เหนือกว่า Windows ค่อนข้างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเทียบกับ Windows ในตระกูล 9 x เช่น Windows95, 98, Me แล้ว Unix จะมีเสถียรภาพในการทำงานที่เหนือกว่าชนิดเทียบกันไม่ได้เลย
    
      คุณสมบัติที่ค่อนข้างโดดเด่นของ Unix นั้นได้แก่
    
     - มัลติทาสกิ้ง (Multi-tasking) คือ ทำงานหลายๆ อย่างพร้อมกันได้ในเวลาเดียวกัน ทำให้ไม่ต้องเสียเวลาในการรอ โดยแบ่งการทำงานออกเป็น Foreground และ Background
  
    มัลติยูสเซอร์ (Multi-user) Unix สามารถรองรับผู้ใช้ได้มากกว่า 1 คนในเวลาเดียวกัน หรือพูดง่ายๆ ก็คือ ใช้งานได้หลายคนพร้อมกันนั่นเอง
     
    จากจุดเด่นนี้ทำให้พบว่าในปัจจุบันเรานิยมใช้ Unix เป็นระบบปฏิบัติการของเครื่อง Internet Server กันมาก

โครงสร้างในการทำงานของ Unix
    Unix แบ่งโครงสร้างออกเป็น 4 ส่วนหลักนั่นคือ Application Program, Shell, Unix Kernel, Hardware โดยเราจะทำงานอยู่ในระดับนอกสุดคือ ระดับ Application Program จากนั้น Unix จะทำงานเป็นลำดับชั้นผ่าน Shell , Kernel และ Hardware ตามลำดับ

    - Shell ทำหน้าที่เป็นเสมือนตัวกลางระหว่างผู้ใช้กับ Kernel โดยทำหน้าที่รับคำสั่งจากผู้ใช้ทางอุปกรณ์ input เช่น คีย์บอร์ด แล้วทำการแปลเป็นภาษาให้เครื่องเข้าใจ หรือเรียกว่า command interpreter และยังสามารถนำคำสั่งเหล่านี้มารวมกันในลักษณะของโปรแกรมที่เรียกว่าเชลล์สคริปต์ (Shell script) ได้ด้วย นอกจากนี้ยังควบคุมทิศทางของ input และ output ว่าจะให้เข้าหรือออกมาทางใด Shell ที่ใช้งานบน Unix มีอยู่ 3 แบบคือ Bourne shell(sh), C shell(csh), Korn shell(ksh) (รายละเอียดเพิ่มเติมหาได้จากหนังสือหรือ website ที่เกี่ยวข้องกับ Unix โดยเฉพาะ)

    - Unix kernel มีหน้าที่ในการควบคุมระบบทั้งหมด หรือเรียกง่ายๆ ว่าเป็นตัวคุม hardware นั่นเอง โดยจะทำหน้าที่ทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นการจัดสรรทรัพยากร การจัดการหน่วยความจำ เป็นต้น




               1.4 ios

    ไอโอเอส (ก่อนหน้านี้ใช้ชื่อ ไอโฟนโอเอส) คือระบบปฏิบัติการบนอุปกรณ์พกพา (สมาร์ตโฟน,แท็บเล็ตคอมพิวเตอร์) พัฒนาและจำหน่ายโดยแอปเปิล (บริษัท)เปิดตัวครั้งแรกในปี 2007 เพื่อใช้บนไอโฟน และได้มีการพัฒนาเพิ่มเติมเพื่อใช้บนอุปกรณ์พกพาอื่นๆ ของแอปเปิล เช่น ไอพอดทัช (ในเดือนกันยายน 2007), ไอแพด(ในเดือนมกราคม 2010), ไอแพด มินิ (พฤศจิกายน 2012) และ แอปเปิลทีวี รุ่นที่ 2 (ในเดือนกันยายน 2010) ไอโอเอสแตกต่างจากวินโดวส์โฟนของไมโครซอฟท์และแอนดรอยด์ (ระบบปฏิบัติการ)ของกูเกิล ตรงที่แอปเปิลไม่อนุญาตให้นำไอโอเอสไปติดตั้งบนอุปกรณ์ที่ไม่ใช่อุปกรณ์ของแอปเปิล ในเดือนสิงหาคม 2013 แอปสโตร์ของแอปเปิลมีแอปพลิเคชันมากกว่า 900,000 แอปพลิเคชัน และ 375,000 ที่ออกแบบมาเพื่อ ไอแพด แอปพลิเคชันเหล่านี้มียอดดาวโหลดน์รวมกันมากกว่า 5 หมื่นล้านครั้ง ไอโอเอสมีส่วนแบ่ง 21% ของส่วนแบ่งระบบปฏิบัติการบนอุปกรณ์พกพาในไตรมาสที่ 4 ของปี 2012 ซึ่งเป็นรองจากแอนดรอยของกูเกิลเท่านั้น ในเดือนมิถุนายน 2012 ไอโอเอสมีส่วนแบ่งคิดเป็น 65% ของการบริโภคข้อมูลบนอุปกรณ์พกพา (ซึ่งรวม ไอพอดทัช และ ไอแพด) ในกลางปี 2012 มีอุปกรณ์ไอโอเอสมากกว่า 410 ล้านเครื่องที่เปิดใช้งาน จากการอ้างอิงจากงานแถลงเปิดตัวต่อสื่อโดยแอปเปิลใน วันที่ 12 กันยายน 2012 มีอุปกรณ์ไอโอเอส 400 ล้านตัวที่จำหน่ายไปแล้วในเดือนมิถุนายน 2012
     
     ส่วนต่อประสานกับผู้ใช้ (user interface) ของไอโอเอสมีพื้นฐานแนวคิดมาจาก "การควบคุมโดยตรง" (direct manipulation) ด้วยการใช้มัลติทัช องค์ประกอบของการควบคุมก็คือการใช้นิ้วเลื่อน, สวิทช์ และปุ่ม เพื่อเป็นการควบคุมอุปกรณ์รวมถึงท่าทางอย่างอื่น เช่น การนำนิ้วมือ (มากกว่าสองนิ้ว) บีบเข้าหาศูนย์กลาง (swipe), แตะเบาๆ (tap), การนำนิ้วสองนิ้วบีบเขาหาศูนย์กลาง (pinch), การนำนิ้วสองนิ้วกางออกจากศูนย์กลาง (reverse pinch) ซึ่งทั้งหมดนี้มีความหมายที่เจาะจงในบริบทต่างๆ ของไอโอเอสและถือเป็นการใช้งานแบบส่วนต่อประสานกับผู้ใช้แบบมัลติทัช ภายในอุปกรณ์ที่ติดตั้งไอโอเอสจะมีเซนเซอร์ตรวจจับการเคลื่อนไหวเพื่อใช้กับบางแอพพริเคชั่นเพื่อตอบสนองการสั่นของอุปกรณ์ หรือการหมุนอุปกรณ์ที่คำนวณในรูปแบบสามมิติ

    ไอโอเอสมีต้นกำเนิดมาจากแมคโอเอสเท็นซึ่งได้รากฐานมาจากดาร์วินและแอพพริเคชั่นเฟรมเวริค์ต่างๆ ไอโอเอสคือรุ่นพกพาของแมคโอเอสเท็นที่ใช้บนคอมพิวเตอร์ของแอปเปิล